ข้ามไปที่เนื้อหา
Market Insights ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจ้างงาน Put the right man on the right job เลือกคนอย่างไรให้เหมาะกับงาน
Put the right man on the right job เลือกคนอย่างไรให้เหมาะกับงาน

Put the right man on the right job เลือกคนอย่างไรให้เหมาะกับงาน

วิธีเลือกคนให้ตรงกับงาน? นับเป็นอีกหนึ่งคำถามที่สุดแสนจะคลาสิกที่ทุกองค์กรต้องเผชิญ เรียกได้ว่าถามง่ายตอบยาก เพราะไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นเรื่องของความน่าจะเป็นจากการสัมภาษณ์งานไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งถ้าว่ากันตามตรง การตัดสินใครคนใดคนหนึ่งจากระยะเวลาเท่านั้นก็เป็นอะไรที่โหดอยู่พอสมควร

อย่างไรก็ดีความสำคัญของการเลือกคนให้ตรงกับงาน หรือ Put the right man on the right job ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่บริษัทมักให้ความสำคัญ เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจและบริษัทพัฒนาก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด เพราะถ้าคุณเลือกคนทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลให้ทีมแข็งแกร่งและเพิ่มศักยภาพให้ทีมในระยะยาว ส่งผลดีกับองค์กรอย่างแน่นอน 

5 วิธีเลือกคนอย่างไรให้เหมาะกับงาน

ถ้าได้ “คนที่ใช่” เหมาะสมกับงาน ตรงใจคนในทีม ก็ยิ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น ไม่ต้องมีใครมาแบกใคร JobDBs เลยรวมเอาวิธีการเลือกคนที่ให้เหมาะสมสำหรับงานต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละองค์กรนำปรับใช้ให้การทำงานเป็นไปอย่างมีความสมดุล และได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากตัวเลือก Candidate ที่คุณมี 

1. วิเคราะห์ลักษณะงานและความรับผิดชอบตำแหน่งงานนั้น

หนึ่งในวิธีเลือกคนทำงานให้ตรงใจที่หลาย ๆ องค์กรมักมองข้าม คือความเข้าใจในลักษณะงานของตำแหน่งงานนั้น รวมถึงความรับผิดชอบ ภาระงานต่าง ๆ ที่ตำแหน่งงานนี้ต้องแบกรับ ทั้งงานในส่วนความรับผิดชอบหลักและงานส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจาก Role งานจริง ๆ ทั้งหมดนี้เป็นจิ๊กซอว์เล็ก ๆ ที่นำมาต่อกันแล้วเราจะเข้าใจถึงภาพใหญ่ได้ง่าย 

ความเข้าใจดังกล่าว จะช่วยให้วิธีเลือกคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทราบถึงความต้องการที่แน่ชัด ว่าต้องการคนที่มีทักษะและความรู้ที่จำเป็นสไตล์ไหน นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตำแหน่งงานนั้นอีกด้วย

ยกตัวอย่างวิธีเลือกคน : หากตำแหน่งนักการตลาดต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นในช่วงการทำแคมเปญ การเลือกคนที่มีทักษะด้านการสร้างไอเดียและ

2. ประเมินทักษะ ความรู้และบุคลิกภาพ

จะเห็นได้ว่าวิธีการเลือกคนทำงานในปัจจุบัน มักมีให้ทำเทสต์หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีตัวเลือก Candidate จำนวนมาก ทั้งความรู้เฉพาะในสายงาน เทสต์ที่วัดระดับความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางด้านสติปัญญา ไปจนถึงคำถามทางจิตวิทยาเพื่อดูบุคลิกลักษณะว่าเป็นไปในทางเดียวกับทีมไหม ถ้าดูแล้วคนละสไตล์กับคนในทีม ต่อให้เก่งแค่ไหนก็อาจจะไม่ผ่านการสัมภาษณ์ได้ ต่อให้เก่งแค่ไหนแต่เข้ากับทีมไม่ได้ก็เปล่าประโยชน์

นอกจากนี้การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของผู้สมัคร ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีเลือกคนที่น่าสนใจ ดูว่าจุดแข็งที่เขามีตรงกับสิ่งที่คุณกำลังตามหาไหม หรือจุดอ่อนนั้นสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ หรือจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นจุดอ่อนที่เป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นจุดอ่อนที่ดูแล้วไม่สามารถแก้ไขและมีผลต่องาน ต่อให้โปรไฟล์จะว้าวแค่ไหน จุดแข็งแบบใด การคัดออกย่อมน่าจะเป็นผลดีกว่าการรักษาไว้

ยกตัวอย่างวิธีเลือกคน : ให้ทำเทสต์ก่อนสัมภาษณ์งาน ทั้งความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและจิตวิทยา รวมถึงดูถึงวิธีการแก้ปัญหาเวลาทำงานร่วมกับทีม อาจจะให้เล่าถึงการแก้ปัญหาหรือโครงการที่ต้องการความร่วมมือว่าเขาเลือกจัดการอย่างไร ตรงกับวัฒนธรรมองค์กรคุณหรือไม่

3.ตรวจสอบประสบการณ์และการศึกษา

ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ย่อมพอจะบอกถึง Framework ความสนใจและความเชี่ยวชาญในสายอาชีพของ Candidate ได้ ว่างานที่เขาทำพอจะตรง หรือมีทักษะไหนที่ตอบโจทย์ ดูแล้วพอจะสู้ไหวไหมกับคนที่คุณต้องการ หรือถ้าเรียนมาไม่ตรงสาย อะไรคือ Passion ที่ทำให้เขาเปลี่ยนมาทำงานสายนี้ ซึ่งถ้าเหตุผลเป็นอะไรที่ชวนว้าว ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย ทั้งนี้ประสบการณ์และการศึกษาถือเป็นอีกหนึ่งวิธีเลือกคนที่สำคัญ ช่วยในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของบุคคลได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างวิธีเลือกคน : ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ที่เน้นทักษะสำคัญตามลักษณะงาน เช่น ถามเกี่ยวกับโปรเจ็คที่ผ่านมาที่แสดงถึงความสามารถในงานนั้น ผลงานอะไรที่ภูมิใจที่สุด ให้ลองยกตัวอย่างพร้อมเหตุผล 

4.เลือกคนที่เข้าใจและมี Passion กับงาน

วิธีเลือกคนที่สำคัญ คือพยายามหาคนที่มีความเข้าใจและแพชชันในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายใหญ่โต ขอแค่มีใจที่พร้อมจะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และลุยให้สุดกับงานในตำแหน่งนี้ เพราะการที่องค์กรได้คนที่เข้าใจและมี Passion เข้ามาทำงาน คนกลุ่มนี้จะมีมุมมองเชิงลึกที่ประโยชน์ต่อองค์กรกว่าคนอื่น และยิ่งถ้าเป็นคนที่สามารถคิดวิเคราะห์ ตีโจทย์ธุรกิจแตก ก็จะสามารถสร้างประสิทธิภาพให้กับทีมงานและบริษัทในระดับสูงเลยทีเดียว 

จริง ๆ วิธีการเลือกคนทำงานด้วยความเข้าใจก็ถือเป็นการรีเช็กอีกรูปแบบหนึ่ง ว่า Candidate เองเข้าใจลักษณะงานตรงกับที่องค์กรวางไว้ไหม หากใช่ก็ไปกันต่อ ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็แยกย้ายกันไวไม่ต้องเสียเวลา

ยกตัวอย่างวิธีเลือกคน : ลองให้ผู้สัมภาษณ์เล่าจากความเข้าใจถึงตำแหน่งงานที่เขามาสมัคร ว่าจะได้พัฒนาการอะไร อะไรคือ Passion ทำไมเขาถึงเลือกสมัครงานที่นี่ มีความคาดหวังกับตำแหน่งงานนี้อย่างไร ถามแบบเปิดกว้างในเชิงความคิดเห็นและความเข้าใจในมุมมองของผู้สมัคร

5. ดูลักษณะนิสัยประกอบการตัดสินใจ

นิสัย ความชอบส่วนตัว ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่าง ๆ ก็พอจะคาดคะเนได้ว่า Candidate ที่มาสัมภาษณ์มีบุคลิกแบบไหน คำถามที่ถาม อาจจะแบ่งเป็นพาร์ทเข้มข้นเรื่องงานเพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญ และมีพาร์ทที่ Relax หน่อย ให้เล่าความชอบ กิจกรรมที่ทำหลังเลิกงาน มีมุมมองต่อการทำงานในยุคนี้อย่างไร ชอบการทำงานสไตล์ไหน ซึ่งทั้งหมดนั้นบ่งบอกถึงความคิดของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี นอกจากเช็กว่าเจ๋งจริงไหมแล้ว การอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญไม่แพ้กัน

ยกตัวอย่างวิธีเลือกคน : ตั้งคำถามแนวเปิดกว้าง ให้ผู้สมัครพูดเล่าเรื่องตัวเองแบบสบาย ๆ มีมุมไหนที่อยากให้เรารู้จัก กิจกรรมหลังเลิกงาน Priority ในชีวิตจัดอันดับแบบไหน ไม่ชอบการทำงานแบบไหน ชอบแบบไหน คนแบบไหนในที่ทำงานที่รับไม่ได้ ฯลฯ 

วิธีเลือกคนให้เหมาะสมกับงานสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เข้าใจในความต้องการที่ชัดเจน คนแบบไหน Say Yes คนแบบไหน Say No ก็จะทำให้คุณได้คนทำงานที่ตรงใจและเหมาะสม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนในบริษัทดีขึ้น คนทำงานแฮปปี้ 

มองหาพนักงานใหม่ มองหางานที่ใหม่ ที่ใช่ตรงใจ ตรงความสามารถของคุณ ค้นหาทั้งหมดนี้ได้ที่ JobsDB แอปหางานอันดับหนึ่งของเมืองไทย

สมัครรับข้อมูลเชิงลึกของตลาด

รับข่าวสารเกี่ยวกับ ภาพรวมตลาดงาน ผ่านทางอีเมลของคุณ
คุณสามารถยกเลิกการติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอีเมลได้ตลอดเวลา โปรดรู้ไว้ว่าเมื่อกด 'ติดตามข่าวสาร' คุณได้ยอมรับเงื่อนไข คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ SEEK